top of page
  • Writer's pictureMycelium gurl

It's doesn't matter black or white



พันธุกรรม ที่ส่งผลออกมาของมนุษย์ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่มองเห็นได้ และมองด้วยตาไม่เห็น แต่สิ่งที่เรามองเห็นชัดได้ง่ายที่สุด ก็คงจะไม่พ้น ‘สีผิว’

ลองนึกถึงตอนที่เวลาฟังเรื่องเล่า เมาท์มอยในหมู่เพื่อนที่ค่อนข้างสนิท แล้วพรรณา บรรยายถึงลักษณะของบุคคลนั้นๆดู เราก็คงจะบอกลักษณะ รูปร่าง หน้าตา เชื้อชาติ และก็ไม่พ้นถึงสีผิว เราเชื่อว่าในช่วงชีวิตของใครหลายๆคน อาจจะเคยได้ยินบทสนทนาประมาณนี้ ยกตัวอย่าง : ในกลุ่มพบปะ

รับประทานอาหารของเพื่อนสาวกลุ่มหนึ่งหลังเลิกงาน ณ กลางเมืองมหานคร แห่งหนึ่ง...


สาว ก. : แกๆ จำยัยนก ตัวดำๆสมัยม.ต้นได้ป่ะ ตอนนี้แต่งงานได้ดิบได้ดีไปแล้วนะแก เห็นเที่ยวไป

นู่นนี่ เป็นว่าเล่น ตอนนี้ไม่รู้ไปทำอะไรมา ตัวขาวเป็นเผือกเลย


สาว ข. : หะ! อินกกาดำ ห้อง 2 นั่นอ่ะนะ


สาว ก. : ช่ายยยยยยยย (พร้อมเปิดโทรศัพท์โชว์รูปจาก Facebookให้ดู)


สาว ข. : โหยยยยยย ดูชีวิตนางดีอ่ะ นางไปทำไรมาวะ ขาวแล้วก็ได้สามี แดกแฟ่บมาหรอ 55555


ทั้ง 2 หัวเราะพร้อมกัน 55555


ในเลข 5 มีน้ำตาซ่อนอยู่เต็มไปหมด คุณเห็นอะไรจากตัวอย่างบทสนทนาข้างบนนี้บ้าง (จริงๆนี่ก็ไม่ใช่เรื่องตัวอย่างที่แต่งขึ้นแต่อย่างใด..หากเป็นเรื่องจริงในสังคมที่ผู้เขียนได้พบเจอจริงๆซะอีก)

"I said if you're thinkin' of being my brother It don't matter if you're black or white"

หากใครจำท่อนเพลงโคตะระฮิตนี้ได้ของ Michel Jackson – Black or White ได้ (หนูๆ Gen Z Search ด่วนมันเคยฮิตมาก) ที่แสดงออกมาให้เห็นถึงความเป็นจริงในเชิงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์ ที่ไม่ว่าคุณจะมีผิวสีอะไร เราต่างก็เป็นพี่น้องกัน และ คุณจะไม่พูดแขวะ หรือ จิกกัดเรื่อง สีผิวรูปพรรณกับคนที่เป็นพี่เพื่อนเป็นพี่เป็นน้องของเราจริงๆ หรอกใช่มั๊ย?

สังคมไทยเราอาจจะดูเหมือนไม่ได้มีปัญหากับเรื่องการแบ่งแยกสีผิวหรอก...

คำถามต่อมาคือ จริงหรือ? เราเติบโตมากับการทักทายจากเพื่อน หรือคนที่ไม่สนิทกันว่า อ่าวว่าไง อ้วนขึ้นหรือเปล่า ไปทำไรมาดำเชียว...เป็นเรื่องปกติ แต่ในความปกตินั้น มันไม่ปกติหรือเปล่า หากเรามองในแง่มุมของความเห็นอกเห็นใจ เอาใจเขา มาใส่ใจเรา

คนบางคนเค้าอาจจะมีปมตั้งแต่วัยเด็กในเรื่องนี้ ก็ต้องเผชิญหน้ากึ่งยิ้ม กึ่งสู้ เก็บกดความเจ็บปวดในใจที่สังคมให้คำนิยามว่าความปกติ มานานเท่าไหร่แล้วใครจะรู้

แล้วทำไมเราถึงมีสีผิวไม่เหมือนกันให้เป็นข้อหยอกล้อในคำพูดได้หล่ะ อ่ะ มานี่ถึงเวลาดึงวิชาการ วิทยาศาสตร์เข้ามาอธิบายซักหน่อย

เมลานิน (Melanin) หลายๆคนคงรู้จัก หรือผ่านตากับคำนี้บ้างจากโฆษณาจำพวกโลชั่นปรับผิวขาว หรือ ครีมกันแดด เจ้าเมลานินนี้แหล่ะ ที่ทำให้พันธุกรรมส่งผลสีผิวที่แสดงออกมาแตกต่างกัน เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสีอัลตราไวโอเลตส่องผ่านชั้นบรรยากาศมายังโลก กระทบกับผิวหนังของเรา สีผิวแต่ละคนที่ต่างกันทำให้เกิดปฏิกิริยากับแสงแตกต่างกันออกไป








เมลานินอยู่บริเวณชั้นผิวหนังกำพร้า ถูกผลิตขึ้นโดยเมลาโนไซต์ (Melanocyte) จากชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้า ก่อนจะถูกส่งขึ้นมาสู่ชั้นบนเป็นทอด ๆ โดยเมลานินซึ่งถูกผลิตขึ้นมานี้มี 2 ชนิด ได้แก่

· ยูเมลานิน (Umelanin) ซึ่งมีสีดำและน้ำตาลเข้ม
· ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งมีสีแดงและเหลือง

เมลานินทั้งสองชนิดนี้มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ชาวแอฟริกันหรืออเมริกาใต้หรือผู้ที่มีผิวคล้ำ จะมีสัดส่วนของยูเมลานินมากกว่า ในขณะที่คนผิวขาว เอเชีย จีน หรือยุโรป จะมีสัดส่วนของฟีโอเมลานินมากกว่า นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากๆๆๆ ก็คือ แสงจากดวงอาทิตย์ตามตำแหน่งภูมิศาสตร์ของโลก แน่นอนหล่ะ นึกภาพเอาเนื้อไปย่างบนเตาไฟตามตำแหน่งต่างๆของเตา จากกึ่กลาง ไปยันขอบกระทะ คุณจะค่อยๆเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสี จากชมพูแดง จนคล้ำขึ้นเรื่อยๆ เร็วช้า ก็อยู่กับตำแหน่ง สีผิวของพวกเราก็เช่นกัน





ย้อนกลับไป หลายแสนปีก่อน เราไม่มีครีมกันแดดแบบในปัจจุบัน ร่างกายของเราจึงผลิตสารกันแดดจากธรรมชาติอย่างเมลานินออกมา ดังนั้นภูมิประเทศที่ต้องเจอกับแสงแดดมากๆอย่างบริเวณเขตศูนย์สูตร (อย่างไทยเอง) จึงมีผิวสีเข้ม เพื่อรับมือกับรังสีที่มากกว่าคนที่อยู่ในโซนเหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งได้รับแสงแดดน้อยกว่า จึงไม่จำเป็นต้องมีเมลานินมาก


ดังนั้นถ้ามองในเรื่องความเป็นจริงของสิ่งกำเหนิดแบบมนุษย์เรานี้แล้ว สีผิวก็เป็นกลไกทางธรรมชาติ ที่ปรับให้เราอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ได้ ไม่ได้ทำให้เราแตกต่างในความเป็นมนุษย์ หรือในความสัมพันธ์ของเราที่ขึ้นอยู่กับสีผิวที่ซ่อนอยู่ภายในที่เหมือนกันแต่อย่างใด



Music Video Micheal Jackson - Black or white


It’s Black, It’s White It’s Tough For You To Get By

ขาว ดำ

มันก็ยากลำบากทั้งนั้น

ที่จะผ่านพ้นชีวิตไป



ด้วยรัก และ ความมีสตินะคะทุกคน





แหล่งข้อมูลอ้างอิง

· TED-Ed. The science of skin color - Angela Koine Flynn.

· Study.com. What is Melanin? - Definition, Production & Function.

· NCBI. The Protective Role of Melanin Against UV Damage in Human Skin.

28 views0 comments
bottom of page